31 มี.ค. ECF บริษัทหลักทรัพย์ดาโอ แนะนำ ‘ซื้อ’ ราคาเป้าหมาย 1.71 บาท
บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) หรือ ECF ทางนักวิเคราะห์ประเมินกำไรปกติไตรมาส 1/2566 ที่ 12 ล้านบาท (ลดลง 6% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน) อย่างไรก็ตามลดลงจากปีก่อนจากตลาดในต่างประเทศ ที่คาดว่าโดยรวมยังชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจ ในขณะที่ไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจัยฤดูกาล โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งเป็น high season (ไตรมาส 1/2566 คาดรายได้จากญี่ปุ่นลดลง 41% จากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 15% จากไตรมาสก่อน และมี revenue contribution ที่ราว 30%)
โดยประเมินรายได้รวมอยู่ที่ 343 ล้านบาท (ลดลง 16% จากงวเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน) ในขณะที่ GPM คาดรักษาระดับที่ 26% ได้เป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน จากการรักษามาตรฐานการบริหารต้นทุนและส่วนแบ่งกำไรโรงไฟฟ้ามินบูเฟสแรก 50 เมกะวัตต์ ประเมินที่ 8 ล้านบาท (ทรงตัวจากงวดเดียวกันของปีก่อน)
ทั้งนี้ ปรับประมาณการกำไรปกติปี 2566 ลงมาที่ 55 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 28% จากงวดเดียวกันของปีก่อน) ลดลงจากประมาณการเดิม -27% สาเหตุหลักจากความล้าช้าในการ COD โรงไฟฟ้ามินบูเฟส 2 ขนาด 50 เมกะวัตต์ เลื่อนออกไปเป็นสิ้นปี 2566 (จากเดิมกลางปี 2566 การก่อสร้างล่าช้า) ในขณะที่ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์แม้ปรับประมาณการรายได้ลงหลังฟื้นตัวในอัตราต่ำกว่าที่เดิมประเมิน โดยประเมินรายได้รวมปี 2566 ที่ 1.5 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 3% จากงวดเดียวกันของปีก่อน) (ลดลงจากประมาณการเดิมลดลง 6% หลังตลาดต่างประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินในไตรมาส 4/2565 โดยเฉพาะอเมริการและญี่ปุ่น) แต่ได้ชดเชยจาก GPM ที่ทำได้ดีขึ้นจากการควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งคาดว่าสามารถรักษามาตรฐานได้ในปี 2566 ที่ระดับ 26% (เพิ่มขึ้น 1.8 จากไตรมาสก่อนและจากปีก่อน) และขึ้นจากเดิม +2 ppt เป็นระดับเดียวกับที่ทำได้ในครึ่งปีหลังของปี 2565
โดยปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 1.71 บาท ด้วยวิธี SOTP โดยคิดมูลค่าธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ 0.28 บาท อิงกำไรเฉพาะจากธุรกิจไม้หลังปรับประมาณการลง (EPS ที่ 0.02) PER ที่ 12 เท่า (ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี – 1.5SD ซึ่งยังต่ำกว่า peers average ที่ 30 เท่า) และจากการลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้ามินบู สัดส่วน 20% ที่ 1.43 บาท (คงเดิมแม้เลื่อนการรับรู้รายได้แต่ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ) จากวิธี DCF (อิง WACC = 9% และ Terminal growth = 0%)
บริษัทรายงานกำไรปกติที่ 12 ล้านบาท (ลดลง 28% จากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 56% จากงวดเดียวกันของปีก่อน) (ต่ำกว่าที่คาดกำไรที่ 17 ล้านบาท จากรายได้ในต่างประเทศที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมิน) ทั้งนี้รายได้รวมไตรมาส4/2565 อยู่ที่ 327 ล้านบาท (ลดลง 24% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และลดลง 5% จากไตรมาสก่อน) สาเหตุหลักจากตลาดหลักในญี่ปุ่นลดลง (ลดลง 45% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ลดลง 20% จากไตรมาสก่อน) ด้าน GPM อยู่ที่ 26% (เพิ่มขึ้น 6.8 จากไตรมาสก่อน และจากปีก่อน ทรงตัวจากไตรมาสก่อน) จากการบริหารจัดการต้นทุนที่ดีขึ้น (cost reduction adjust pricing program บริหารจัดการรอบการผลิตทำให้จ่าย OT น้อยลง) และทำให้ GPM ทรงตัวในระดับดังกล่าวเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน
ที่มา : ข่าวหุ้น 30-03-2566
No Comments